
ในโลกการพัฒนาซอฟต์แวร์ยุคใหม่ ทักษะ Soft Skills ไม่ได้เป็นเพียงตัวเสริม แต่เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดความสำเร็จในอาชีพ Java Developer ของคุณเพราะการมี Soft Skills ที่ดีจะช่วยให้คุณ เข้าใจความต้องการของลูกค้าได้คมชัด พัฒนางานออกมาได้อย่างมีคุณภาพ สื่อสารได้ชัดเจน แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานร่วมกับทีมได้อย่างราบรื่น และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
- แนวทางการใช้ Soft Skills ในการทำงานโปรแกรมเมอร์อย่างมืออาชีพตั้งแต่เริ่มต้นจนส่งมอบงานสำเร็จ
- การคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา: เรียนรู้วิธีวิเคราะห์โจทย์งานอย่างละเอียด หาแนวทางแก้ไขปัญหาที่หลากหลาย และเลือกวิธีที่ดีที่สุด
- การสื่อสารและนำเสนอ: ฝึกฝนการสื่อสารความคิดเห็นทางเทคนิคให้ผู้ที่ไม่ใช่สาย IT เข้าใจ และนำเสนอผลงานของคุณได้อย่างน่าประทับใจ
- การทำงานร่วมกับผู้อื่น: เรียนรู้วิธีทำงานเป็นทีม และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน
- การเตรียมตัวเพื่อสัมภาษณ์งาน: ได้รับคำแนะนำในการเตรียมตัวเพื่อสัมภาษณ์งานในตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ และเพิ่มโอกาสในการได้งานในฝัน
การทำงานจริง ในหลายๆครั้งมักจะไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ อาจจะพบปัญหาหรือมีจุดติดขัด ทักษะการเผชิญและรับมือกับปัญหา (AQ) จะช่วยจัดการสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันได้ หากคุณมีทักษะนี้จะช่วยคุณจัดการสถานการณ์ต่างๆได้ดีขึ้น รวมถึงทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ได้อย่างมืออาชีพมากขึ้นด้วย
ภายใต้เหตุการณ์ที่มีความกดดัน หากจัดการอารมณ์ได้ไม่ดี ย่อมส่งผลลัพธ์ทีมีแนวโน้มไม่ดีตามไปด้วย ฉะนั้นการจัดการทางอารมณ์ (EQ) ได้ดี จะช่วยคุณควบคุมสถานการณ์ได้ สามารถพลิกสถานการณ์ไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี และยังส่งผลไปยังความสัมพันธ์กับคนรอบตัวรวมถึงทีมงาน ทำให้งานสำเร็จลุล่วงได้ตรงตามเป้าหมาย
การเป็นโปรแกรมเมอร์ต้องใช้การคิดเชิงตรรกะหรือการคิดเป็นระบบค่อนข้างมาก จึงปฎิเสธไม่ได้ว่า การคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking) เป็นทักษะสำคัญ ที่จะช่วยคุณวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลอย่างมีเหตุผล สามารถสร้างผลงานจนถึงส่งมอบผลงานได้อย่างราบรื่น
การทำงานให้ดำเนินไปในทิศทางทีถูกต้อง เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ คุณต้องใช้ทักษะ ความเข้าใจวัตถุประสงค์ (Objective Comprehension) จะช่วยคุณเข้าใจเนื้อหาและสรุปใจความสำคัญของเนื้อหา เพื่อลดความผิดพลาดและให้ทำงานไปในทิศทางที่ถูกต้อง ตรงตามเป้าหมาย
การทำงานที่ผิดพลาด หลายครั้งเกิดจากความเข้าใจของตนเองที่อาจไม่ตรงกับโครงการ ฉะนั้นหารคุณมีการสะท้อนความเข้าใจ (Self-Reflection) ได้ดี จะช่วยคุณตรวจสอบความคิด ความรู้สึก ทำให้เข้าใจของสิ่งที่กำลังจะทำ และปฎิบัติไปในแนวทางเดียวกับโครงการได้อย่างถูกต้อง
ปัญหาหรือเหตุไม่คาดฝันอาจเกิดได้ทุกเมื่อในระหว่างการทำงาน ทักษะการรับรู้ปัญหา (Problem Identification) จะช่วยคุณรับรู้ถึงสิ่งผิดปกติและสามารถมองลึกลงไปถึงปัญหาที่แท้จริงได้ เมื่อคุณรูู้ปัญหาได้ไว ก็จะแก้ไขปัญหาได้ไว เป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เกิด ผลกระทบที่มากขึ้นกว่าเดิม
การทำงานย่อมมีปัญหา หากแก้ไขปัญหาได้ดี การทำงานของคุณก็จะราบรื่น ทักษะการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) ช่วยให้คุณวิเคราะห์หาสาเหตุ และแยกปัญหาเป็นส่วนย่อย เพื่อแก้ไขไปทีละขั้นได้ ทำให้คุณสามารถจัดการกับปัญหา จนสร้างความสำเร็จต่อผลงานของคุณ
การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดี การมีทักษะการสื่อสาร (Communication) ที่ดี จะช่วยคุณถ่ายทอดข้อมูลให้กับผู้รับสารได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อให้การทำงานของคุณกับคนอื่นหรือทีมมีความราบรื่น ส่งมอบงานได้ตามเป้าหมาย
สินค้าที่สร้างมาอย่างดี แต่ไร้การนำเสนอที่ดี สินค้านั้นก็อาจขายไม่ได้ เช่นเดียวกับการสร้างผลงานของโปรแกรมเมอร์ การมีทักษะการนำเสนอ (Presentation) ที่ดี จะช่วยให้คุณนำเสนอสิ่งที่คุณคิด ทั้งแนวคิด ปัญหาเชิงเทคนิค รวมถึงโน้มน้าว สร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังกลุ่มใหญ่ได้ เพิ่มโอกาสความสำเร็จในผลงานของคุณมากขึ้น
การสัมภาษณ์งานเป็นขั้นตอนสำคัญของนายจ้างที่ใช้คัดเลือกคนเข้าองค์กร หากคุณมีการเตรียมสัมภาษณ์งาน (Interview Preparation) ที่ดี จะช่วยให้คุณได้เตรียมตัวและสร้างความคุ้นเคยกับการสอบสัมภาษณ์งานก่อนเจอสถานการณ์จริง เป็นการสร้างความมั่นใจ และสร้างโอกาสสูงสุดในการได้งาน
ในขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน การตอบคำถามของผู้สมัคร เป็นขั้นตอนสำคัญที่นายจ้างใช้ตัดสินผู้สมัคร หากคุณมีการเตรียมตัวตอบคำถามสัมภาษณ์ที่ดี คุณจะมีความมั่นใจ และสามารถสื่อสารสร้างความประทับใจให้กับนายจ้าง เพิ่มโอกาสการจ้างงานได้มากขึ้น
ยังไม่มีคะแนน
0 รีวิว
ยังไม่มีรีวิว